Categories
News

บริการซ่อมบำรุงอาคาร: เช็คแอร์เสีย และซ่อมง่ายๆ หากรู้วิธีแก้ไขเบื้องต้น

บริการซ่อมบำรุงอาคาร: เช็คแอร์เสีย และซ่อมง่ายๆ หากรู้วิธีแก้ไขเบื้องต้น มื่อถึงคราวที่เครื่องปรับอากาศแสนรักเกิดอากาศงอแง เกิดปัญหามาคอยกวนใจต่างๆ มากมาย ซึ่งเราเองก็สามารถที่จะแก้ไขได้เบื้องต้นและไม่ยากเย็นนัก ตอนนี้ทางเชียงใหม่แอร์แคร์จึงอยากขอเสนอ วิธีในการแก้ไขปัญหาของระบบเครื่องปรับอากาศที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งมาฝากกันค่ะ

1. แขวนเครื่องระบายความร้อนแบบเป่าลมร้อนออกด้านข้าง

ปัญหา

– ตำแหน่งการติดตั้งเครื่องที่ชิดผนังอาคารหรือตัวบ้านมากจนเกินไป
– มีต้นไม้มาปิดปังทางเข้าและบล็อกเส้นทางลม

ผลที่เกิดขึ้น

– เครื่องทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เครื่องระบายความร้อนไม่ได้เต็มที่
– การบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมได้ลำบากและอันตรายต่อช่างซ่อมบำรุงอีกด้วย

วิธีทางแก้ไข

– ปรับตำแหน่งเพื่อติดตั้งใหม่

2. การขาดการบำรุงรักษาการยึดเครื่องระบายความร้อน หรือเครื่องคอมเพรสเซอร์

ปัญหา

– ยางรองพื้นเครื่องระบายความร้อนหรือคอมเพรสเซอร์หมดสภาพการใช้งาน

ผลที่เกิดขึ้น

– เครื่องระบายความร้อนเกิดอาการสั่นสะเทือนขณะที่ทำงานทำให้ท่อน้ำยาเสียหายหรือรั่วได้

วิธีทางแก้ไข

– เปลี่ยนยางรองเครื่องระบายความร้อนใหม่ให้หนาแน่นและติดตั้งให้เรียบร้อย
– ควรบำรุงรักษาเครื่องระบายความร้อนอย่างสม่ำเสมอ

3. การติดตั้งของคอมเพรสเซอร์

ปัญหา

– ตำแหน่งของคอมเพรสเซอร์ที่อยู่ชิดกันมากจนเกินไป

ผลที่เกิดขึ้น

– การบำรุงรักษาคอมเพรสเซอร์ได้ลำบากมาก ลมระบายความร้อนจะเกิดจากไหลย้อนกลับทำให้คอมเพรสเซอร์ระบายความร้อนไม่ออก

วิธีทางแก้ไข

– จัดวางตำแหน่งใหม่โดยให้เครื่องระบายความร้อนแต่ละตัวห่างกันพอสมควร

4. การเดินท่อโดยไม่มีตัวรองรับท่อ

ปัญหา

– ไม่มีตัวรองรับสำหรับน้ำยาและท่อร้อยสายไฟ การเดินท่อน้ำยาที่ไม่มีความเป็นระเบียบ
– เกิดดารทรุดตัวที่ไม่เท่ากันของแท่นรองเครื่อง

ผลที่เกิดขึ้น

– ท่อน้ำยาเกิดการแอ่นตัวให้เสียหายหรือรั่ว
– ท่อน้ำยาเกิดการยึดและแตกร้าวให้ทรุดตัวที่ไม่เท่ากันหรือแท่นรองเครื่อง

วิธีทางแก้ไข

– ทำตัวรองรับเพื่อยึดและท่อร้อยสายไฟให้แข็งแรง
– ติดตั้งเครื่องโดยใช้แท่นรองเครื่องยึดเข้ากับผนังอาคารเพื่อหลีกเลี่ยงการทรุดตัว

5. ขายึดเครื่องระบายความร้อนหักชำรุด

ปัญหา

– การกระจายน้ำหนักของเครื่องไม่เท่ากันทั้งสี่ด้าน
– ทำให้ท่อน้ำยาและสายไฟเสียหาย
– มีสนิมเกาะที่ตัวเครื่องระบายความร้อน

ผลที่เกิดขึ้น

– มีอาการสั่นสะเทือนมากหรือผิดปกติจึงทำให้ท่อน้ำยารั่วหรือสายไฟหลวมไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ

วิธีทางแก้ไข

– ทำขายันเครื่องให้แข็งแรงเพื่อสามารถใช้งานได้ดีและปกติเหมือนเดิม

6. การเกิดเชื้อราที่ท่อน้ำทิ้ง

ปัญหา

– ท่อน้ำทิ้งเป็นแหล่งรวมกันระหว่างเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 2 ห้องหรือ 2 เครื่อง

ผลที่เกิดขึ้น

– เกิดหยดน้ำที่ท่อน้ำทิ้งในส่วนของห้องที่ไม่เปิดเครื่องปรับอากาศ เมื่อเริ่มเปิดใช้เครื่องใดเครื่องหนึ่ง

วิธีทางแก้ไข

– แยกท่อน้ำทิ้งของเครื่องปรับอากาศออกจากกัน
– ทำหุ้มฉนวนยางที่ท่อน้ำทิ้งบริเวณที่ต่อรวมกันเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเกิดหยดน้ำ
– ทำความสะอาดล้างเครื่องปรับอากาศ ท่อน้ำทิ้งให้สะอาด

7. เกิดความควบแน่นและเป็นน้ำแข็งของท่อน้ำยา

ปัญหา

– ท่อน้ำยารั่วเกิดการถ่ายเทความร้อน ทำให้ไอน้ำควบแน่นและน้ำแข็งเกาะที่ท่อเป็นเวลานาน

ผลที่เกิดขึ้น

– มีน้ำยารัว ทำให้ระบบการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ เปลืองกระแสไฟเกินความต้องการ

วิธีทางแก้ไข

– ซ่อมหารอยรั่วในท่อและตรวจสอบปริมาณน้ำยาในระบบอยู่ตามมาตรฐานของเครื่องปรับอากาศ

8. การขาดการบำรุงรักษาท่อน้ำยา

ปัญหา

– ฉนวนหุ้มท่อน้ำยาที่เกิดอาการฉีกขาด

ผลที่เกิดขึ้น

– ท่อน้ำยาเกิดการเสียหายได้ง่าย อาจจะมีความผุกร่อนแตกหัก เกิดอาการควบแน่นที่ทำให้เกิดน้ำหยด
– สิ้นเปลืองไฟสูงเกินความจำเป็น

วิธีทางแก้ไข

– หุ้มฉนวนใหม่ให้เรียบร้อย
– หมั่นดูแลบำรุงรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ

9. การหุ้มฉนวน

ปัญหา

– การหุ้มฉนวนที่ไม่ครอบคลุมให้ถึงแป้นและก้านวาล์ว

ผลที่เกิดขึ้น

– เกิดหยดน้ำเกาะแป้นหรือก้านวาล์ว

วิธีทางแก้ไข

– เพิ่มการหุ้มฉนวนเพิ่มเติมให้แน่นหนาขึ้น

10. การชำรุดเสียหายของแผ่นฝ้าเพดานเมื่อมีการเดินท่อน้ำยาบนฝ้า

ปัญหา

– การเกิดความควบแน่นของไอน้ำในอากาศ ของท่อน้ำที่ฝังอยู่บนฝ้าและเกิดหนดน้ำและทำให้แผ่นฝ้าเสียหายเกิดเป็นรอยน้ำ

ผลที่เกิดขึ้น

– เกิดเชื้อราและสิ่งสกปรกที่เกิดจากความชื้น อันตรายเป็นอย่างมากต่อสุขภาพ
– แผ่นฝ้าเสียหาย

วิธีทางแก้ไข

– หากมีการรั่วซึมของน้ำควรเปลี่ยนหรือซ่อมแซมทันที